วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT

การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร




ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


                                             



พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์







รู้เท่าทันนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
        
 การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) คืออะไร 
         ความสามารถป้องกันตนเองจากการถูกจูงใจจากเนื้อหาของสื่อ การสามารถวิเคราะห์เนื้อหาของสื่ออย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้สามารถควบคุมการตีความเนื้อหาของสื่อที่ดู ฟัง หรือมีปฎิสัมพันธ์ด้วย แทนที่จะให้การสื่อความหมายของสื่อเป็นไปตามเจตนาของผู้ผลิตมาควบคุม 

สิ่งสำคัญ
          ควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อต่าง ๆ ให้ดีขึ้น เช่น ท้วงติงหรือร้องเรียนเมื่อพบสื่อที่ไม่เหมาะสม เรียกร้องสิทธิในฐานะเป็นผู้บริโภคสื่อ ฯลฯ

ทำไมต้องรู้เท่าทันสื่อ
สื่อมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อ พฤติกรรม
        เมื่อสื่ออยู่ล้อมรอบตัวเรา เห็นบ่อยๆ ได้ยินบ่อยๆ ก็มีอิทธิพลต่อความคิดของเราได้ คนจำนวนไม่น้อยเมื่อได้ยินคำโฆษณาผลิตภัณฑ์ในครั้งแรกก็คล้อยตาม รีบไปซื้อหามาใช้ทันที เพราะเชื่อว่าใช้แล้วคงขาวสวยเหมือนนางแบบในโฆษณา

คนไทย เป็นนักเสพสื่อตัวยง
               สถานการณ์การอ่านของเด็กและเยาวชนไทยในปัจจุบัน พบว่า มีการใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือน้อยลง ตัวเลขจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งล่าสุด พบว่า เด็กและเยาวชนใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 39 นาที เดิมเคยใช้เวลาอ่านเฉลี่ยวันละ 50 นาที แต่หมกมุ่นดูทีวี เล่นเกม แช็ททางมือถือ และเล่นอินเทอร์เน็ตวันละหลายชั่วโมง เป็นแนวโน้มที่แสดงให้เห็นว่า เด็กและเยาวชน หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ของประเทศเราก็เป็นนักเสพสื่อตัวยง


 แนวทางการรู้เท่าทันสื่อและวิเคราะห์สื่อ(Code of Conduct)



คุณธรรมจริยธรรมในการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

           เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข Arlene H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้

จรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เป็นบทการปฏิบัติเพื่อเตือนความจำ
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท

สภาพปัญหาในการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ปัญหาการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนในสังคมลดลงกลายเป็นสังคมก้มหน้า
–การหมกมุ่นเพลิดเพลินอยู่ในโลกของตัวเอง ทำให้การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง
–การแก้ไขนั้น อาจทำได้โดยการแบ่งเวลาในการใช้งานให้เหมาะสม ไม่หมกมุ่นจนเกินไป 
ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านกับครอบครัวหรือเพื่อนๆ เป็นต้น

การแก้ปัญหาในการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1. ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น
3. สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
4. ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพึงรำลึกอยู่เสมอว่า ในสังคมของเราทุกวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่ทั่วไป
5. ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี
6. แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าวัฒนธรรมที่ดีนั้นสามารถควบคุมและแก้ปัญหาสังคมได้ การดำรงอยู่และส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีไว้ เป็นสิ่งจำเป็นในยุคสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น
7. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน
8. ผู้รับผิดชอบในการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสมาชิกของสังคม พึงตระหนักถึงภัยอันตราย
9. ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันองค์กรต่างๆ
10. ใช้แนวทางการบังคับให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย และบทลงโทษของการละเมิด เป็นสิ่งจำเป็น ผู้บริหารระบบสารสนเทศจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎ ระเบียบ
          
          สรุปแล้ว หากครูรู้จักใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างชาญฉลาด ก็จะสามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียน และหากครูช่วยสอดแทรกเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม ในการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับนักเรียน ก็จะช่วยเป็นเกราะป้องกันให้นักเรียนสามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การประเมินผลและการประเมินผลทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา


การประเมินสื่อ


    การประเมินสื่อ  เป็นแนวคิดการบ่งบอก (สะท้อน) ประสิทธิภาพสื่อการสอนในการประเมินชุดการสอนรายบุคคลและการประเมินบทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

แนวคิด
1. การประเมินสื่อการศึกษา เป็นกระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพของสื่อที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ในการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ
2. สื่อที่ใช้ในการจัดการศึกษาที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ ชุดกิจกรรม หรือชุดการสอนรายบุคคล และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือบทเรียนโปรแกรม ซึ่งสื่อทั้งสองชนิดมีวิธีการหาค่าประสิทธิภาพแตกต่างกัน
3. เกณฑ์ E1/E2 คือ เกณฑ์ที่ใช้ประเมินชุดการสอน โดยดูจากค่าตัวเลขที่สะท้อนประสิทธิภาพจากการทำกิจกรรมระหว่างเรียน และการทดสอบหลังเรียน
4. เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 (The 90/90 standard) คือ เกณฑ์ที่ใช้ประเมินบทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยดูจากค่าตัวเลขที่สะท้อนประสิทธิภาพจากการทดสอบหลังเรียน และร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านทุกจุดประสงค์ของการเรียนรู้


ความหมายของการทดสอบประสิทธิภาพ  
          การหาคุณภาพของสื่อ หรือชุดการสอน โดยพิจารณาตามขั้นตอนของการพัฒนาสื่อหรือชุดการสอนแต่ละขั้น “Developmental Testing” การทดสอบคุณภาพตามพัฒนาการของการผลิตสื่อหรือชุดการสอนตามลำดับขั้นเพื่อตรวจสอบคุณภาพของแต่ละองค์ประกอบของต้นแบบชิ้นงาน ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การนำสื่อไปทดสอบ 2 ขั้นตอน
-  การทดสอบประสิทธิภาพใช้เบื้องต้น (Try Out)
-  ทดสอบประสิทธิภาพสอนจริง (Trial Run)


การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ



ความหมายของเกณฑ์ (Criterion)
          เกณฑ์เป็นขีดกำหนดที่จะยอมรับว่า สิ่งใดหรือพฤติกรรมใดมีคุณภาพและหรือปริมาณที่จะรับได้ การตั้งเกณฑ์ ต้องตั้งไว้ครั้งแรกครั้งเดียว เพื่อจะปรับปรุงคุณภาพให้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ตั้งไว้ จะตั้งเกณฑ์การทดสอบประสิทธิภาพไว้ต่างกันไม่ได้

ความหมายของเกณฑ์ประสิทธิภาพ
          ระดับประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เป็นระดับที่ผลิตสื่อหรือชุดการสอนจะพึงพอใจว่า หากสื่อหรือชุดการสอนมีประสิทธิภาพถึงระดับนั้นแล้ว สื่อหรือชุดการสอนนั้นก็มีคุณค่าที่จะนำไปสอนนักเรียน และคุ้มแก่การลงทุนผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก

เกณฑ์ประสิทธิภาพสื่อ
E1/E2 The 90/90  Standard ศาสตราจารย์ชัยยงค์ พรหมวงศ์

พฤติกรรมต่อเนื่อง (กระบวนการ)
          E1 = Efficiency of Process
พฤติกรรมสุดท้าย (ผลลัพธ์)
          E2 = Efficiency of Product

การกำหนดเกณฑ์ E1/E2 ให้มีค่าเท่าใดนั้น ผู้สอนเป็นผู้พิจารณาตามหลักการ
          ความรู้ความจำ  มักตั้งไว้  90/90 
          ทักษะหรือเจตคติ  นิยมตั้งไว้  75/75 
                    ประสิทธิภาพของชุดการสอนจะกำหนดเป็นเกณฑ์ที่ผู้สอนคาดหมายว่าผู้เรียนจะเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นที่พอใจ โดยกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผลเฉลี่ยของคะแนนการทำงานและการประกอบกิจกรรมของผู้เรียนทั้งหมด ต่อเปอร์เซ็นต์ของผลการสอบหลังเรียนของผู้เรียนทั้งหมด คือ E1/E2 คือ ประสิทธิภาพกระบวนการ/ประสิทธิภาพผลลัพธ์ 
ตัวอย่าง  
          80.00/80.00 หมายความว่า เมื่อเรียนจากชุดการสอนแล้ว ผู้เรียนสามารถทำแบบฝึกหัดหรืองานได้ผลเฉลี่ย 80% และทำข้อสอบหลังเรียนได้ผลเฉลี่ย 80%


ขั้นตอนการหาประสิทธิภาพชุดการสอน

- แบบเดี่ยว  (1 : 1) นำสื่อไปทดลองใช้กับนักเรียน  1-3 คน       โดยทดลองกับนักเรียนเก่ง  ปานกลาง  และอ่อน
- แบบกลุ่ม  (1 : 10) นำสื่อที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองกับนักเรียน    6-10 คน ที่มีความสามารถคละกัน
ภาคสนาม  (1 : 100) นำสื่อไปทดลองใช้ในชั้นเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 20-100 คน หากการทดลองภาคสนามให้ค่า E1/E2 ไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้จะต้องปรับปรุงสื่อ แล้วทำการทดสอบประสิทธิภาพ

การประเมิน CAI บทเรียนสำเร็จรูปบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 (The 90/90 standard
รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กุมุท

แนวคิดพื้นฐานของการสร้างเกณฑ์มาตรฐาน 90/90

          การบอกค่าประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป หรือบทเรียนโปรแกรม (Programmed Materials หรือ Programmed Textbook หรือ Programmed Lesson) ซึ่งเป็นสื่อที่มีเป้าหมายหลักเพื่อให้ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเองเป็นสำคัญ หลักจิตวิทยาสำคัญที่เป็นฐานคิด ความเชื่อของสื่อชนิดนี้คือ ทฤษฎีการเรียนแบบรอบรู้ (Mastery Learning) ซึ่งมีความเชื่อว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ หากจัดเวลาเพียงพอ จัดวิธีการเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรีย นก็สามารถที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนได้

การเตรียมความพร้อมก่อน

การหาค่าประสิทธิภาพ
1. กำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นจากสื่อให้ชัดเจน ซึ่งองค์ประกอบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ดีย่อมต้องประกอบด้วย
          1.1 สถานการณ์หรือเงื่อนไข
          1.2 คำบ่งบอกพฤติกรรมที่สังเกตและวัดได้
          1.3 เกณฑ์ที่บ่งบอกถึงความสำเร็จ
2. สร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร เพื่อกำหนดค่าน้ำหนักของเนื้อหาสาระในแต่ละวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
3. ออกข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามค่าน้ำหนักที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ได้ข้อสอบวัดครบถ้วนตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมทุกข้อ
4. จัดทำข้อสอบ โดยจะต้องรู้ว่าข้อสอบข้อใดวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อใด


หลักการการประเมิน

การประเมินสื่อที่เรียนรู้ด้วยตนเองจะมุ่งรับประกันคุณภาพใน 2 ประเด็น คือ
1. บ่งบอกคุณภาพของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
2. บ่งบอกศักยภาพของสื่อว่าสามารถจะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครบถ้วนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ได้เป็นจำนวนเท่าใด


การประเมินผลทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา






การประเมินผลทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา

          การประเมิน หมายถึง กระบวนการใช้ดุลพินิจ (Judgment) ในการพิจารณาตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยการเปรียบเทียบผลที่วัดได้กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ส่วนแนวคิดของการวัดและประเมินสื่อ แนวคิดเดิมของการวัดผลจะเกี่ยวข้องกับการวัด (Measurement) และการประเมินผล (Evaluation)
 การวัด เป็นกระบวนการกำหนดระดับชั้นของลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล คุณภาพ ความสามารถหรือสิ่งต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ ออกมาเป็นตัวเลข
 การประเมินผล เป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าจากข้อมูลที่รวบรวมได้จากการวัด ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการตัดสินคุณค่า ในปัจจุบันใช้คำว่า การประเมิน (Assessment) เข้ามาแทนที่  

ประเด็นประเมิน

1. กำหนดเป้าหมายการประเมิน
-จะประเมินไปทำไม
-จะนำผลประเมินไปทำอะไร
2. กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน
-ต้องการทราบ หรือตรวจสอบอะไร                  
-ตามเป้าหมายที่กำหนด จะต้องทราบสิ่งใด
 3.  กำหนดคุณลักษณะ ตัวบ่งชี้ หรือประเด็นที่จะประเมิน
-ประเมินจากอะไร                                                    
-ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด จะตรวจสอบจากอะไร หรือประเด็นใด

วิธีประเมิน

1. การประเมินรายบุคคล  เป็นการพิจารณาความก้าวหน้าของผู้เรียนรายบุคคลในห้องเรียนหรือในกลุ่ม อาจประเมินโดยอิงกลุ่ม (ใช้มาตรฐานของกลุ่มกับผู้เรียนทุกคน) อิงเกณฑ์ (ใช้เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ล่วงหน้าตัดสินผู้เรียนทุกคน) หรืออิงตนเอง (ใช้ความสามารถระดับเดิมของผู้เรียนเป็นมาตรฐานเพื่อตัดสินพัฒนาการหรือการปฏิบัติ)ได้

2.
 การประเมินกลุ่ม (Group Assessment) เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของผู้เรียนในสถานการณ์กลุ่ม และตัดสินความก้าวหน้า อาจให้คะแนนผู้เรียน ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มเป็นรายบุคคลหรือใช้คะแนนบุคคลบวกกับคะแนนกลุ่ม

3. 
การประเมินตนเองและเพื่อน (Self – Peer assessment) จะทำให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ ในการประเมินงานของตนและงานของเพื่อนร่วมห้อง ผู้เรียนได้มีส่วนเข้าร่วมกำหนดเกณฑ์การประเมินด้วย